top of page

Our CONCEPT

ด้วยคอนเซปต์อาหารที่ Tense ต้องการบอกเล่าเรื่องราวของอาหารในมุมมองของ 3 รูปแบบคือ

 

“อดีต" ซึ่งเสิร์ฟในรูปแบบรสชาติและความทรงจำ หรือหน้าตาดั้งเดิมด้วยสูตรรสมือของคนในครอบครัว หรือจะเรียกว่า “คอมฟอร์ตฟู้ด” (Comfort Food) ก็ไม่ได้แตกต่าง ถัดมาคือ “ปัจจุบัน” รูปแบบอาหารที่คนส่วนใหญ่เคยเห็น คุ้นเคยกับจานอาหารนั้นๆซึ่งมีความร่วมสมัยตามการออกแบบให้เข้ากับสไตล์ กาล ในขณะเดียวกัน ส่วนของ “อนาคต” จะถูกนำเสนอแบบฟิวชั่นหรือทวิสซ์ สำหรับผู้ที่อยากลองเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาที่เสิร์ฟมารูปแบบแปลกใหม่รวมถึงรสชาติที่คุ้นเคยหรือแตกต่าง ที่ร้าน กาล อยากเชิญชวนให้ลิ้มลองและพิจารณาถึงความพิถีพิถันที่ทางร้านคัดสรรวัตถุดิบ รสชาติ และการนำเสนอมุมมองของ "กาล"

IMG_4560.jpeg
IMG_3430.jpeg
LINE_ALBUM_pic menu_240301_1.jpg
Tense_Croquette Duck bomb.JPG
Tense_Pocket Rocket.JPG

ดังเช่นสโลแกนของทางร้านที่ว่า Taste and Time blend together  ซึ่งทางเรามีความเชื่อและมุมมองที่ต้องการสื่อถึง Taste หมายถึง “รสชาติ หรือ รสนิยม” ที่ลูกค้าแต่ละท่านชื่นชอบ ซึ่งมาพร้อมกับส่วนของ Timeless จะให้ความหมายของประสบการณ์ลูกค้าที่เคยได้ลิ้มลองที่ผ่านมา เมื่อนำพื้นฐานของสองสิ่งมาผสมผสานกัน ผลลัพธ์ของแต่ท่านจะแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และรสนิยมเฉพาะบุคคล

 

เพราะฉะนั้น Tense หรือ กาล จึงอยากให้ลูกค้าเป็นผู้เลือกและสนุกไปกับทางร้านว่า อาหารที่ทางร้านนำมาเสิร์ฟ ควรจะจัดอยู่ในรูปแบบอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต?

IMG_8678_edited.jpg

RESTAURANT DESIGN

นอกจากเรื่องของเมนูอาหารแล้ว การออกแบบในเชิงสถาปัตยกรรม, ออกแบบภายใน และ การสร้างสรรค์พื้นที่นั้นทาง Tense ได้มีการวางให้ร้านเป็นเหมือนอัญมณีที่ซ่อนอยู่ (Hidden Gem) ในชุมชนที่มีเอกลักษณ์ชัดเจนอย่างตลาดท่าดินแดง และได้แบ่งการนำเสนอออกเป็นสองส่วนหลักๆ

#restaurantdesign #interiordesign #interior #illusion

Locally known as Soi  "Chang Nak"

#bangkok #Khlongsan #thonburi #hiddengemdining #local #thailand #bangkok #time #goodvibes 

โดยสถานที่ตั้งถูกเลือกในพื้นที่ที่ไม่อยู่ในตัวเมืองที่มีผู้คนพลุกพล่านจนเกินไป ในขณะเดียวกันก็ไม่ห่างจากใจกลางเมืองมากเกินไป ดังนั้นเพื่อความเหมาะสมกับการที่ทางร้านต้องการผสมผสานเรื่องของ “ห้วงเวลาอาหารกับการออกแบบ” ตัวร้านจึงตั้งอยู่ใน #ฝั่งธน ย่าน #คลองสาน บนถนนเส้นสมเด็จเจ้าพระยาซอย 5 หรือคนท้องถิ่นรู้จักกันในชื่อ “ซอยช่างนาค” ซึ่งเป็นย่านชุมชนเก่าที่รวมผู้คนเชื้อสายไทย จีน และอินเดียไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

Tense ถูกออกแบบโดยการนำบ้านเก่ามาทำการออกแบบภายใน สร้างพื้นที่ลวงตาและผสมผสานกับพื้นที่บริเวณโดยรอบ ที่ทำให้ตัวร้านไม่รู้สึกเคอะเขินเมื่ออยุ่ร่วมกันกับชุมชน แต่เมื่อเข้ามาภายในจะเห็นถึงความแตกต่างอย่างละมุนละไม รวมถึงเก็บองค์ประกอบของตัวบ้านผนวกกับเรื่องราว ที่พร้อมจะสื่อถึงความเป็นทั้งอดีต ปัจจุบัน และสร้างสัดส่วนของอนาคต ด้วยพื้นที่ที่จัดสรรอย่างลงตัว

IMG_7956.jpeg

Approach

“การออกแบบส่วนแรก” จะเริ่มขึ้นตั้งแต่เข้ามาในซอยสมเด็จเจ้าพระยาไม่ว่าจะซอย 5 หรือ 7 ตัวร้านจะถูกซ่อนอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่คนพื้นที่นี้เรียกว่า “ซอยช่างนาค” ซึ่งเป็นที่สิ่งที่ร้านต้องการให้เป็น ด้านภายนอกตัวอาคารในช่วงแรก ร้านจะไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงบริบทของอาคาร มากไปเกินกว่าจนทำให้พื้นที่โดยรอบเกิดอาการที่เรียกว่า การตกใจของบริบท (Destruction Environmental and Context) ซึ่งจะทำให้ตัวอาคารแตกต่างจากชุมชนที่อยู่  แต่กลับจะเพิ่มเติมในส่วนของพื้นที่สีเขียวและทัศนียภาพ (Lanscape) โดยยังคงเอกลักษณ์ของบ้านที่มีอายุมากกว่า 50 ปี 

84787.jpg

Exterior

“การออกแบบส่วนที่สอง” จะนำเสนอและเล่นกับพื้นที่บริเวณร้าน ซึ่งเริ่มตั้งแต่พื้นที่จอดรถภายใน ร้านได้เลือกใช้กระเบื้องผนังเคนไซเป็นฉากหน้าบ้านที่สื่อได้หลากหลายแนวไม่ว่าจะเป็นแนวคลาสสิค หรือแนวโมเดิร์น เพิ่มเติมโลโก้ของร้านเพื่อให้เป็นจุดที่เหมาะกับการถ่ายรูปและเริ่มสร้าง "ความคุ้นเคยกับพื้นที่” ก่อนที่จะนำไปสู่ทางเข้าภายใน นอกเหนือจากนั้นทางร้านได้ให้นิยามในรูปแบบนี้ว่า การเปลี่ยนพื้นที่แบบหนึ่งก้าว (Move One Step Forward) ซึ่งเหมือนกับลูกค้าไปเดินชมงานในพิพิธภัณฑ์ ดังเช่นคอนเซปต์ของร้านคือ “อดีต, ปัจจุบัน, อนาคต”

Past

ขั้นแรกจะเป็นการนำเสนอด้วยรูปแบบ “อดีต” ตั้งแต่ทางเข้าตัวอาคาร (Approach) ทางร้านได้ทำการเก็บองค์ประกอบ (Elements) บางรูปแบบของบ้าน เช่นตัวกำแพง ลูกกรง และเพิ่มเติมความความทรงจำเก่าๆ ในอดีตเข้าไป ด้วยวัสดุ (Materials) ที่สอดคล้องกับคอนเซปต์ของร้าน เฉกเช่นการเลือกใช้สีอาคาร บานประตู หินกรวด ผนังกำแพง เพื่อให้ลูกค้าได้สัมผัสถึง ความเป็นตรอก ซอก หรือซอย หลังจากผ่านประตูเข้ามา จะพบกับส่วนหน้าจะเป็นแคชเชียร์ โดยที่ฉากหลังทางร้านยังคงใช้กระเบื้องเคนไซ เพื่อปรับความรู้สึก (Human Sense) กับตัวร้านในรูปแบบอดีต 

84886.jpg

Present

แต่หลังจากผ่านประตู “เพียงหนึ่งก้าว” พร้อมกับก้าวมาบนพื้นไม้ปาเก้ หรือ พื้นที่รับประทานอาหาร (Dinning Room) ทางร้านได้นำเสนอรูปแบบ “ปัจจุบัน” ซึ่งทางร้านได้ยกระดับพื้นขึ้นมา และต้องการให้จัดเป็นพื้นที่ที่สามารถอยู่ได้รวมได้ทั้งอดีตและอนาคต ดังเช่นปัจจุบัน ด้วยการเลือกโต๊ะ เก้าอี้ สีที่ใช้จะเป็นสีประจำร้านที่ผสมผสานในเรื่องเวลา รวมไปถึงการสร้างฉากส่วนที่กั้นห้อง (Partition) ของห้องรับประทานอาหาร ทางร้านได้เลือกโพลีคาร์บอเนตแบบขุ่นวางในองศาที่กำหนดไว้ เมื่อลูกค้าอยู่ในจุดที่ถูกต้อง (Right Spot) ลูกค้าจะเห็นทุกอย่างพร้อมๆกัน (See Through) และจะพบกับตี่จู่เอี๊ยะและหิ้งพระ ที่มีกระเบื้องเคนไซเป็นฉากหลังเช่นเดียวกัน เพื่อให้ความเป็นอดีตสามารถอยู่กับปัจจุบันได้ โดยที่ไม่ได้รู้สึกแตกต่างกัน 

116328_0.jpg
IMG_2632.jpeg

Future

เมื่อทำการนั่งที่โต๊ะ ทางร้านได้นำเสนอในรูปแบบสุดท้ายคือความเป็น “อนาคต” สิ่งที่ทางร้านได้แสดงออกมานั้น จะเป็นส่วนของ บาร์และครัวเปิด โดยทางร้านทำการใช้วัสดุเพื่อตัวสื่อสาร ดังเช่นตัววัสดุที่ใช้จะเป็นของยุคใหม่ เช่นกระจกลอน กระเบื้องผนังสีขาว แผ่นไม้ผนังแบบสามมิติ โคมไฟเคลือบโลหะ (Metallic) หินอ่อนบนเคาร์เตอร์ที่มีความสูงเป็นระดับเดียวกันโต๊ะอาหารโดยที่ทางเราจะเน้นไปที่ พื้นที่ลวงตา (Illusion) ความเป็นสมัยใหม่ (Modern) รวมถึงการเคลื่อนไหว (Movement) ของเชฟ โดยที่จะเห็นแค่เงาลางๆ (Shadow) มีความไม่แน่นอนของพื้นที่ (Space) ที่มาพร้อมกับครัวเปิดที่แสดงถึงความทันยุคกับร้านอาหารสมัยใหม่ ซึ่งทางร้านนำการเปรียบเปรยดังเช่น “อนาคตที่คุณอาจจะเห็นหรือรับรู้ แต่ไม่สามารถจับต้องได้”

LINE_ALBUM_230705_5.jpg
bottom of page